คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับคราฟท์เบียร์ EP04.

Brettanomyces เบียร์ส่วนใหญ่จะหมักด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ส่วน Brettanomyces หรือที่รู้จักในชื่อ Brett เป็น wild yeast ที่ลอยอยู่ในอากาศซึ่งจะมีส่วนในการหมักแบบธรรมชาติ ยีสต์แบบนี้จะสร้างรสเปรี้ยว รสดิน รสเครื่องเทศ เช่นเดียวกันกับรสอื่นๆของเบียร์ ที่มีทั้งคนชอบและไม่ชอบไอ้รสดังกล่าวที่ว่ามา Clean คลีนในที่นี่หมายถึงเบียร์ที่ไม่มีรสชาติหรือ texture ไม่ซับซ้อนมากนัก ไม่ได้หมายความเบียร์นั้นจืด ไม่มีรสชาติ ตัวอย่างที่ง่ายๆก็คือลาเกอร์นับเป็นเบียร์ clean ชนิดหนึ่ง Session Beer เบียร์แอลกอฮอล์ต่ำ โดยทั่วไปคือ…

0 Comments

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับคราฟท์เบียร์ EP03.

Piney มักจะระบุอยู่ในคำอธิบายของเบียร์ IPA (India Pale Ale) ที่มีรสขมโดดเด่นรวมถึงมีคาแรคเตอร์ของต้นสน (Pine) รสและกลิ่นนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ฮอปส์ที่เลือกใช้ด้วย Gravity หน่วยวัดที่ Brewer(คนต้มเบียร์) ใช้วัดความหนาแน่นของสารละลายในน้ำเบียร์ก่อนและหลังการหมัก (fermentation) เพื่อสามารถคำนวณแอลกอฮอล์ (ABV) ได้ วิธีการก็คือวัดตอนที่ต้มเบียร์เสร็จแล้ววัดหลังจากการหมักจากนั้นก็เอาค่าทั้งสองมาลบกันก็จะได้ปริมาณแอลกอฮอล์ ABV (Alcohol By Volume) Imperial/Double เป็นสไตล์เบียร์ โดยมากใช้กับ Stout หรือ IPA (Double IPA…

0 Comments

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับคราฟท์เบียร์ EP02.

Adjunct ธัญพืชชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่บาร์เลย์ ตัวอย่างเช่น ข้าวโพด หรือข้าว ใส่เข้ามาในเบียร์เพื่อลดต้นทุน โดยมากจะใส่ในเบียร์ลาเกอร์เจ้าใหญ่ๆ แต่ในเบียร์บางสไตล์อาจมีการใส่ข้าวสาลีหรือข้าวโอ๊ตซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างคาแรคเตอร์และรสชาติ เช่น วีทเบียร์หรือสเตาท์ Malty คำอธิบายเบียร์ที่มีรสชาติและคาแรคเตอร์ของมอลต์ชัดเจนหรือโดดเด่นกว่ารสอื่น อาจจะลงลึกไปอีกว่าเป็นรสแบบบิสกิต รสขนมปัง คาราเมล ขนมปังปิ้ง ชอคโกแลต และอื่นๆ Noble Hops ฮอปส์มีหลากชนิดหลายสายพันธุ์ แต่ถ้าพูดถึง Noble Hops จะหมายถึง 4 สายพันธุ์ที่ปลูกในเยอรมันและสาธารณรัฐเช็ก ก็คือ Saaz,…

0 Comments

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับคราฟท์เบียร์ EP01.

Macro Lager Lager คือเบียร์ชนิดที่เราคุ้นเคยดื่มกินกันมานาน น้ำเบียร์เหลืองใส รสชาติไม่ซับซ้อนจึงเป็นเบียร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดชนิดหนึ่ง แต่ความหมายของ ‘Macro Lager’ คำนี้ออกจะเป็นแง่ลบหน่อย หมายถึงพวกเบียร์ที่ผลิตโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ Dry Hopped ฮอปส์เป็น 1 ใน4 ส่วนผสมหลักในการทำเบียร์ (น้ำ,มอลต์,ฮอปส์และยีสต์) ปกติการใส่ฮอปส์จะใส่ระหว่างต้มเบียร์ ก่อนการหมัก (fermentation) ‘Dry Hopped’ จึงถือว่าเป็นวิธีการพิเศษ ขั้นตอนก็คือใส่ฮอปส์ลงไปหลังจากที่ทำการหมักเบียร์เสร็จแล้ว อาจจะประมาณ 7-10 วันหลังจากใส่ยีสต์ ประโยชน์ของการดรายฮอปส์ก็คือการเพิ่มกลิ่นและรสให้ชัดเจนขึ้น(แต่ไม่เพิ่มความขม) Bottle…

0 Comments

ประโยชน์ของ เบียร์(ตอนที่2)

ช่วยเสริมกระดูกให้แข็งแรง จากงานวิจัยที่เผยแพร่ใน International Journal of Endocrinology พบว่า การบริโภคเบียร์ในระดับพอเหมาะช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้กับมวลกระดูกได้ และสิ่งที่ช่วยให้กระดูกเหล่านั้นแข็งแรงขึ้นบางทีอาจจะเป็นเพราะซิลิคอนที่พบได้ในเบียร์ของคุณ ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญสำหรับการสร้างกระดูกให้แข็งแรง ช่วยกระตุ้นสมอง ประโยชน์อื่น ๆ ของการมีซิลิคอนส่วนผสมในเบียร์? คือการช่วยป้องกันสมองของคุณจากการเกิดโรคหรืออาการที่เกี่ยวกับระบบความคิดเชิงวิเคราะห์และระบบการทำความเข้าใจ และนี่อาจเป็นสาเหตุที่นักวิจัยจาก Loyola University ในชิคาโก พบว่าผู้ที่ดื่มเบียร์ในระดับพอเหมาะเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มเบียร์เลย มีโอกาสน้อยกว่าที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมที่ร้อยละ 23 ช่วยทำความสะอาดฟัน จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Biomedicine and Biotechnology พบว่า เบียร์สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจากการเจริญเติบโตบนฟันของคุณได้ นักวิจัยได้ทำการทดสอบสารสกัดจากเบียร์ต่อแบคทีเรียบนแผ่นฟิล์มชีวภาพเพื่อดูกระบวนการที่จะนำไปสู่การเกิดฟันผุและโรคเหงือก…

0 Comments

ประโยชน์ของ เบียร์(ตอนที่1)

มีสารอาหารที่ร่างกายต้องใช้ในแต่ละวันผสมอยู่ เป็นความจริงที่ว่าเบียร์หมักมาจากพืชและพืชมีสารอาหารที่มีประโยชน์ การจิบเบียร์วันละนิดหน่อยหมายถึงคุณจะได้พลังงานและสารอาหารบางอย่างที่มีอยู่ในนั้น จากงานวิจัยงานหนึ่งพบว่าเบียร์มีวิตามินบีและโปรตีนมากกว่าไวน์ ชาร์ลี บัมฟอร์ธ ศาสตราจารย์ด้าน brewing sciences แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ยังอ้างว่าเบียร์เมื่อเทียบกับเหล้ามีวิตามินบี ฟอสฟอรัส โฟเลตและไนอาซินมากกว่า อีกทั้งเบียร์ยังมีโปรตีนและเส้นใยบางชนิดที่สำคัญ ทั้งยังเป็นหนึ่งในไม่กี่แหล่งอาหารที่สำคัญของซิลิคอน ซึ่งจากการวิจัยพบว่าสามารถช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ เบียร์ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานได้ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหภาพยุโรปพบว่า คนที่ดื่ม 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มเลย และผู้ชายที่ชอบดื่มเบียร์ตั้งแต่หนึ่งครั้งถึงหกครั้งต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงเรื่องโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มเบียร์ -มีส่วนช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง จากการศึกษาเบื้องต้นที่ถูกนำเสนอใน American Heart…

0 Comments